วิวัฒนาการไก่ป่า การกำเนิดไก่ป่าจนพัฒนามาสู่การพนันไก่ชน ไก่ชนเป็นสายพันธุ์หนึ่งของไก่พื้นเมืองหรือไก่บ้าน มีต้นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย วิวัฒนาการมาจากไก่ป่า ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์สังเกตเห็นพฤติกรรมของไก่ป่าตัวผู้ที่ต่อสู้กันด้วยสัญชาติญาณในการปกป้องอาณา เขตของตนเองและเพื่อแย่งชิงตัวเมีย จึงเริ่มนำไก่ป่ามาเลี้ยงเป็นไก่บ้าน เพื่อเป็นอาหารประจำบ้าน ในยามว่างงานก็นำไก่มา ชนกันเป็นเกมกีฬาเพื่อหาความบันเทิง
กิจกรรมชนไก่นี้ดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงยุคอียิปต์ กรีก โรมัน เปอร์เซีย โดยมีหลักฐานกล่าวย้อนไปในช่วง 480 ปี ก่อนคริสตศักราชว่า ขุนศึกจากนครเอเธนส์ (ประเทศกรีซ) ได้ยกทัพเรือไปโจมตีชาวเปอร์เซียนที่เกาะแชลอะมิส แล้วได้เห็น กีฬาชนไก่ ของชาวเปอร์เซียนจนเกิดความสนใจในความแข็งแกร่งของไก่ชนหลังจากรบชนะแล้วจึงได้นำไก่ชนกลับมายังนคร เอเธนส์ด้วยและได้จัดให้มีการชนไก่เป็นประจำ จากนั้นกีฬาชนไก่ได้แพร่หลายเข้าสู่กรุงโรม (ประเทศอิตาลี) ในช่วง ค.ศ. 1700 (พ.ศ. 2243)
ในประเทศอังกฤษมีการผสมพันธุ์ไก่ชนและฝึกให้ชนหรือตีกันจนกลายเป็น อุตสาหกรรมกีฬาชนไก่ที่แพร่ไปยังทวีปอเมริกาและประเทศอื่นๆ เช่น สเปน สหรัฐอเมริกา รวมถึงประเทศในแถบลาตินอเมริกา เช่น บราซิล เม็กซิโก และสาธารณรัฐโดมินิกัน รวมถึงหลายประเทศทางตะวันออกด้วย ความนิยมในกีฬาชนไก่เห็นได้ชัดจากชาวอเมริกันในยุคอาณานิคมจัดให้การชนไก่เป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมเป็น อันดับสองรองจากการแข่งม้ายุคนั้นชนแทบทุกชั้นในอาณานิคมอเมริกาต่างมีไก่ชนเป็นของตนเองเพื่อเป็นเครื่องแสดงฐานะ ทางสังคม เพราะมีทัศนคติและค่านิยมว่า
การชนไก่เป็นการละเล่นหรือกีฬาที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้คนจาก หลายสถานภาพ หลายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นคนรวยหรือคนจน ทุกคนที่มาเล่นกีฬาชนไก่ต่างมีความเท่าเทียมกัน สิ่งที่จะนำมา เปรียบเทียบกันทั้งในทางชนชั้น ศักดิ์ศรี สติปัญญา และความสามารถ ซึ่งเปรียบเทียบกันได้จากไก่ชนเท่านั้น
จนได้มีการกล่าวถึงกีฬานี้ว่า การเลี้ยงไก่ชน และการชนไก่เป็นกีฬาของสุภาพบุรุษ ผู้ที่เข้าร่วมในการชนไก่ล้วนเป็น “บุคคลที่น่านับถือ” ที่มีภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมที่หลากหลาย ดังจะเห็นได้จากบุคคลที่มีชื่อเสียงของโลกหลายคน เช่น พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 แห่งอังกฤษ และอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ เช่น อับราฮัม ลินคอล์น โธมัส เจฟเฟอร์สัน และแอนดรูว์ แจ็คสัน ต่างก็เป็นผู้ที่นิยมการชนไก่ในปี ค.ศ. 1836 (พ.ศ. 2379) รัฐบาลอเมริกาถึงแก้กฎหมายห้าม ชนไก่เพราะถือว่าโหดเหี้ยมทารุนต่อสัตว์
นอกจากไก่ชนและการชนไก่จะเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของเจ้าของไก่ชนได้แล้ว การชนไก่ยังมีเหตุผลครอบคลุมในมิติ ของความเชื่อ และพิธีกรรมต่างๆ ด้วย เช่น ชาวซีเรียโบราณใช้การชนไก่เพื่อบูชาเทพเจ้า ชาวบาหลีในอินโดนีเซียซึ่งนับถือศาสนาฮินดูแบบบาหลี ถือว่าการชนไก่เป็นการเช่นไหว้ ด้วยเลือดแก่ปีศาจที่หิวโหย หรือวิญญาณที่เรียกว่า “บูตากาลา” เพื่อให้ปีศาจและมนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยความสงบ การชนไก่ในบาหลียังเกี่ยวข้องกับวันเทศกาลเข้าเงียน ที่มีชื่อเรียกว่า เทศกาลเยปี
โดยก่อนจะถึงวันเทศกาลในทุก หมู่บ้านจะจัดให้มีการขนไก่อย่างครึกครื้น อันเป็นสัญญาณของการปลดปล่อยความรุนแรงและก้าวร้าวออกไปให้หมดเพื่อเข้า สู่ความบริสุทธ์ ด้วยความเชื่อว่าการชนไก่เป็นการรวมพลังสร้างสรรค์ของมนุษย์กับพลังทำลายล้างของสัตว์ป่า ก่อนที่ทุกคนจะ นั่งเงียบๆ โดยไม่เคลื่อนกายเพื่อไม่ให้สัมผัสกับวิญญาณร้าย ส่วนในกิจกรรมการชนไก่ที่จัดขึ้นทั่วไปในบาหลี หลังรู้ผลแพ้ชนะ แล้วเจ้าของไก่ที่ชนะมีสิทธิ์จะนำขากของไก่ผู้แพ้ไปกินเพื่อเสริมพลังและกำจัดสิ่งชั่วร้ายในบ้านเรือน
ส่วนการชนไก่และ การพนันชนไก่ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งในประเทศไทย ลาว พม่า อินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชาและฟิลิปปินส์ นับเป็นกิจกรรมที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเช่นกัน โดยมี หลักฐานเกี่ยวกับการชนไก่ที่ปรากฏเช่นภาพสลักรูปชาวบ้านกำลังเล่นชนไก่บนปราสาทบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ใน กัมพูชา ในสมัยสุโขทัยมีไก่ชนประดู่หางดำ พันธุ์แสมดำ ชื่อว่า “ไก่พ่อขุน” เนื่องจากเป็นไก่ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงโปรด การชนไก่ที่ถูกกล่าวขานกันมากที่สุดสำหรับประเทศไทย คือ พระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาที่กล่าวถึงสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชทรงท้าพนันชนไก่ชนะพระมหาอุปราช เมื่อครั้งเป็นเชลยอยู่ในกรุงหงสาวดีในขณะที่การตีไก่ (การขนไก่) ในตอนนั้นได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในพม่า
โดยมีหลักฐานภาพเขียนรูปพระนเรศวรชนไก่กับพระมหาอุปราชาที่วัด สุวรรณดาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีบันทึกได้ภาพว่าปี พ.ศ. 2121 และที่วัดท่ามะปราง จังหวัดพิษณุโลกได้ขุดพบพระ รูปพระนเรศวรอุ้มดินเผารูปไก่ชนขนาดหน้าตัก 7 นิ้ว สูง 9 นิ้ว บริเวณฐานเจดีย์ทรงลพบุรี ซึ่งกรมศิลปกรได้สันนิษฐานว่าอายุ อยู่ในช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย หรือประมาณ 200 ปี ซึ่งเป็นการยืนยันประวัติการชนไก่ของพระนเรศวรมหาราช ส่วนไก่ชน พันธุ์เหลืองหางขาว ยังมีชื่อเสียงและถูกกล่าวขานมาถึงปัจจุบันว่า “ไก่เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง” มีการกล่าวว่า ความนิยมไก่ชนและการชนไก่มิได้จำกัดอยู่เฉพาะแต่ในบรรดาชาวบ้านในชนบททั่วไปเท่านั้น แต่เป็นที่แพร่หลายในคนทุกระดับชั้น จนเรียกได้ว่า “เป็นที่แพร่หลายทั้งในรั้วในวัง ในท้องไร่ปลายนาเสมอกัน จากคำกล่าวในข้างต้น ได้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับไก่ชน หรือไก่บ้านมาเป็นเวลาช้านาน
การเล่นชนไก่ วิถีชีวิตของคนไทยจากการ วิวัฒนาการไก่ป่า
การเล่นชนไก่ วิถีชีวิตของคนไทย ในอดีตส่วนใหญ่ทำการเกษตร และมักเลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหารในบริเวณบ้าน ด้วยคุณสมบัติของไก่บ้าน ที่เลี้ยงง่าย หากินเองได้ โตไว แพร่พันธุ์เร็ว ไก่บ้านจึงเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมมาโดยตลอด ชีวิตประจำวันที่คุ้นเคยใกล้ชิดกับไก่ทำให้ไก่และ พฤติกรรมต่างๆ ของไก่มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมไทยด้วย ดังจะเห็นจากพยัญชนะแรกของภาษาไทย คือ ก.ไก่ ตามมาด้วย ข.ใช่ เป็นตัวเขียนที่มีวิวัฒนาการสืบเนื่องมา จนกระทั่งมีการบันทึกในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เมื่อประมาณ 700 ปีที่แล้ว
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีการละเล่น เพลงปรบไก่ และมีการละเล่นของเด็กไทยที่เรียกตรงตัวว่า การเล่นชนไก่ โดย ผู้เล่นสองฝ่ายนั่งยองๆ ในเขตวงกลม สอดมือประสานกันไว้ได้เข่าและกระโดดชนกัน หากฝ่ายใดเสียหลักล้มก่อน ถือว่างฝ่ายนั้น แพ้ ซึ่งการละเล่นนี้เลียนแบบมาจากกิริยาของไก่ชน
การชนไก่จึงเป็นการละเล่นพื้นบ้าน ที่มีรากเหง้ายาวนานที่สุดชนิดหนึ่งใน สังคมไทยเช่นกัน ซึ่งไก่ชนสายพันธุ์ไทย ในประเทศไทยพบ 2 สายพันธุ์ คือ ไก่ป่าตุ้มหูขาว พบทางภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ไก่ป่าตุ้มหูแดง พบทางภาคใต้ และภาคตะวันตก พันธุ์ไก่ชนไทย ได้รับการคัดเลือกพันธุ์ ผสมพันธุ์ พัฒนาสายพันธุ์จากนักเล่นไก่ชนมากว่า 500 ปี แม้วันนี้การเลี้ยงไก่ ชนที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีพแทบทุกหมู่บ้าน เป็นแหล่งอาหารรสชาติดีมีคุณภาพ และสร้างสรรค์ความบันเทิงจาก การละเล่นชนไก่ ซึ่งอาจมีการพนันแถมท้าย เพื่อความเร้าใจจะมีพัฒนาการจากวิถี และภูมิปัญญาไปสู่รูปแบบที่เป็นธุรกิจมากขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ชื่อเสียงของพันธุ์ไก่ชนไทยก็เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายเช่นกัน ไก่เหล่าป่าก๋อย เอกลักษณ์ของไก่ชนภาคเหนือ
ในพื้นที่จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ และพื้นที่ภาคเหนือตอนบนไก่ชนที่นิยมเลี้ยงกันเพื่อเล่นพนันกันแพร่หลาย คือ “ไก่เหล่าป่าก๋อย” ลักษณะของไก่เหล่าป่าก๋อยคือ มีสีดอกเลา มีเลาขาวแซมตามสร้อยหางขาวเช่น เหลืองเลาหางขาว เขียว เลาหางขาว เป็นต้น ปัจจุบันไก่เหล่าป่าก๋อยแพร่กระจายออกนอกหมู่บ้านไปมาก ทำให้มีการพัฒนาสายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา และ ฉลาดขึ้นกว่าในอดีตเป็นที่รู้จักของนักเลงไก่มากขึ้น ส่วนไก่ชนสายพันธุ์พม่า นักเลงไก่ชนแถบภาคเหนือรู้จักและนิยม มานานแล้ว ไก่พม่าเก่งๆ ส่วนมากจะเป็นไก่ลูกผสมพม่า – ไทย ที่นิยมเลี้ยงกันแถบจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และลำปาง
การเลี้ยงไก่ชน ในอดีตไก่ชนก็คือ ไก่พื้นเมืองไทยที่มีเลี้ยงกัน โดยทั่วไปในหมู่บ้านชนบททั่วทุกภาคของประเทศ ด้วยคุณสมบัติของไก่ พื้นเมืองที่มีสายพันธุ์ดี แข็งแรงอดทนมีภูมิต้านทานต่อโรค สามารถฟักไข่เองเลี้ยงลูกได้เอง หาอาหารเลี้ยงตัวเองได้เก่ง คนไทย จึงนิยมเลี้ยงไว้ เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือนบางตัวมีรูปร่างสีขนสวยงามก็เลี้ยงไว้ดูเล่น เพื่อความเพลิดเพลินหรือเลี้ยงไว้ชาย ซึ่ง จะได้ราคาดีกว่าไก่กินเนื้อ หากตัวไหนมีลักษณะเชิงชนเก่ง ก็จะเลี้ยงไว้เพื่อนำไปชนในบ่อนพนันชนไก่ ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ชนยังคงมีจุดประสงค์เหมือนในอดีต เพียงแต่รูปแบบการเลี้ยงมีความแตกต่างกันอย่างมาก เนื่องจากการเลี้ยงไก่ชนมีจุดประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการที่มีลักษณะจำเพาะและกว้างขวางขึ้น
อย่างไรก็ตาม วิธีการในการเลี้ยงไก่ชนหนึ่งตัวเพื่อให้เป็นไก่ชนเก่งต้องใช้ภูมิปัญญาและขั้นตอนที่มีความ ละเอียดอ่อนยิ่ง เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกไก่พื้นบ้านเพศผู้ที่จะนำมาเลี้ยงเป็นไก่ชน ซึ่งนอกจากจะต้องเป็นไก่ที่มีลักษณะดี มีความ สมส่วนทั้งน้ำหนัก ส่วนสูง สีสันสุขภาพแข็งแรง
คนที่จะเลี้ยงไก่ชนจะต้องเป็นคนรักไก่ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับไก่ ชำนาญ ในการดูแลไก่ เอาใจใส่ทุกขั้นตอน รู้และเข้าใจเรื่องสายพันธุ์ไก่ รู้เรื่องชั้นเชิงการชนของไก่ รู้จุดเด่น จุดด้อยของไก่ และต้องดูแล ไก่ชนอย่างใกล้ชิด บางคนอยู่กับไก่ทั้งวันโดยเฉพาะระยะการเลี้ยงให้เป็นไก่ชน การเลี้ยงไก่ชนในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ เลี้ยงแบบพื้นบ้าน การเลี้ยงแบบซุ้ม และ การเลี้ยงแบบฟาร์ม
ติดตามข่าวสารไก่ชนได้ทุกวัน ที่นี้ DOKAICHON.COM
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมตลอด 24 ชั่วโมง ได้ที่นี้ @dokaichon.com