โรคนิวคาสเซิล โรคติดเชื้อของสัตว์ปีก ที่คนเลี้ยงไก่ต้องระวัง

โรคนิวคาสเซิล

โรคนิวคาสเซิล เป็นโรคติดเชื้อของสัตว์ปีกจากเชื้อไวรัสชนิดรุนแรง การติดเชื้อไวรัสนิวคาสเซิลชนิดรุนแรงต่ำ ไม่ก่อให้เกิดโรคนิวคาสเซิล แต่ยังคงก่อให้เกิดอาการทางระบบหายใจ เมื่อมีการติดเชื้อชนิดอื่นๆ หรือสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โรคนิวคาสเซิลเป็นปัญหาของการผลิตสัตว์ปีกทั่วโลก บางประเทศที่เชื้อไวรัสก่อโรคนิวคาสเซิลเป็นโรคประจำถิ่น ยังคงใช้เชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่รุนแรงปานกลางชนิดเชื้อเป็น และปัจจุบันถูกจัดเป็นเชื้อไวรัสที่รุนแรง เนื่องจาก ลำดับสารพันธุกรรมที่ตำแหน่ง cleavage sites และค่าดัชนี ICPI

มีหลักฐานการแพร่กระจายเชื้อก่อ โรคนิวคาสเซิล ตามแนวระนาบจำนวนมาก สัตว์ปีกที่ติดเชื้อสามารถขับ เชื้อไวรัสนิวคาสเซิลได้ ในสิ่งคัดหลั่งจากช่องปากและคอหอย และมูลสัตว์ สัตว์ปีกที่ไวรับต่อโรคสามารถติดเชื้อ โดยการหายใจรับฝุ่นที่ปนเปื้อน หรือเชื้อไวรัสที่อยู่ภายในละอองอากาศ หรือโดยการกินสิ่งที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส การติดเชื้อไวรัสจากการหายใจ สูดละอองอากาศที่มีเชื้อไวรัสพิสูจน์ได้จาก การให้วัคซีนเชื้อเป็นโดยใช้เครื่องพ่นยา การกินมูลสัตว์ที่ปนเปื้อน หรือซากสัตว์ที่ปนเปื้อน สามารถติดเชื้อในไก่ ไก่ที่มีภูมิคุ้มกันสามารถขับเชื้อไวรัสนิวคาสเซิลชนิดรุนแรงได้เป็นเวลา 6-9 วันภายหลังการป้อนเชื้อพิษทับ หรือจนกระทั่งตาย นกป่าตามธรรมชาติ หรือเลี้ยงขังกรงที่ไม่ได้รับวัคซีน เช่น นกแก้ว และนกพิราบ สามารถขับเชื้อไวรัสได้เป็นเวลานานผ่านมูลสัตว์ โดยไม่แสดงอาการ

การติดเชื้อ โรคนิวคาสเซิล การวินิจฉัยโรค การป้องกันและรักษา

การติดเชื้อ ในสัตว์ปีกถูกรายงาน ต่อองค์การสุขภาพสัตว์โลก หรือโอไออี การติดเชื้อไวรัสก่อโรคนิวคาสเซิล สามารถรายงานให้กับองค์การสุขภาพสัตว์โลก โรคนี้ติดเชื้อสู่ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท และระบบสืบพันธุ์ และเป็นสาเหตุให้อัตราการตายได้ถึง 100% ในไก่ที่ไม่ได้รับวัคซีน เชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายได้ผ่านน้ำลาย และมูลสัตว์ และพบได้ทั่วโลก

การวินิจฉัยโรค การแยกเชื้อไวรัส เป็นวิธีมาตรฐานสำหรับ การวินิจฉัยโรค อย่างไรก็ตาม เทคนิคการวินิจฉัยโรคทางอณูชีววิทยา เช่น เทคนิคอาร์ที-พีซีอาร์ชนิดเรียลไทม์ ช่วยให้การวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็ว คำนิยามขององค์การสุขภาพสัตว์โลก ยอมรับการวิเคราะห์กรดอะมิโนชนิดเบสจำนวนหลายตำแหน่งในลำดับของตำแหน่ง fusion cleavage site หรือค่าดัชนีการก่อโรคที่สมอง หรือค่า ICPI มากกว่า 0.7 ใช้สำหรับการวินิจฉัยยืนยันโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสพารามิกโซไวรัส 1 สายพันธุ์รุนแรง

การป้องกัน และ การรักษาโรค การให้วัคซีนสามารถป้องกันการป่วย และการตายได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ การให้วัคซีน และระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นกุญแจสำคัญสำหรับควบคุมโรคนิวคาสเซิล การทำลายสัตว์ที่ติดเชื้อ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการควบคุมการระบาดของโรคนิวคาสเซิล ในประเทศที่ปลอดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์รุนแรง

 

ติดตามข่าวสารไก่ชนได้ทุกวัน ที่นี้ DOKAICHON.COM

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมตลอด 24 ชั่วโมง ได้ที่นี้ @dokaichon.com