โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ เป็นโรคที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างมาก การระบาดได้รวดเร็ว การเกิดโรคแบบเฉียบพลันทางระบบทางเดินหายใจส่วนต้นของไก่ และสัตว์ปีกชนิดอื่นๆ มีสาเหตุจากการติดเชื้อแกมมาโคโรนาไวรัสที่ก่อโรคหลอดลมอักเสบติดต่อ เชื้อไวรัสพบได้ทั่วโลก และแพร่กระจายโดยการหายใจ หรือการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ปีกที่ติดเชื้อ หรือวัสดุรองพื้น อุปกรณ์การเลี้ยง และสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนเชื้อ การแพร่กระจายเชื้อทางแนวดิ่งภายในตัวอ่อนไม่มีรายงาน แต่เชื้อไวรัสสามารถพบได้ตามเปลือกไข่ฟักจากการขับเชื้อผ่านท่อนำไข่ หรือทางเดินอาหาร เนื่องจาก กลไกการตรวจทานของเอนไซม์โพลีเมอเรสที่ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส และการรีคอมบิเนชันของจีโนมจนเกิดเป็นซีโรไทป์ใหม่ของเชื้อไวรัสที่ไม่สามารถป้องกันโรคข้าม ส่งผลให้การควบคุมโรคโดยใช้วัคซีนยากมาก
สาเหตุของโรค กลยุทธ์การป้องกันและรักษา โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ
โรคนี้มีลักษณะสำคัญคือ การแสดงอาการทางระบบหายใจ น้ำหนักลดลง และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารลดลงในไก่เนื้อที่ติดเชื้อไวรัส สาเหตุของโรค การติดเชื้อยังเป็นปัจจัยโน้มนำให้ไก่เนื้อติดเชื้อ ฉวยโอกาสที่ส่งผลให้เกิดถุงลมอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ และเยื่อหุ้มตับอักเสบ อัตราการป่วยเกือบ 100% เสมอ แต่อัตราการตายแตกต่างกันไปขึ้นกับอายุ และสถานะทางภูมิคุ้มกันของสัตว์ปีก สายพันธุ์ของเชื้อไวรัส และการติดเชื้อฉวยโอกาสทั้งไวรัส และแบคทีเรีย เชื้อไวรัสก่อโรคหลอดลมอักเสบติดต่อบางสายพันธุ์ก่อโรคต่อไต และมีอัตราการตายสูง เนื่องจาก ไตล้มเหลวในสัตว์ปีกที่ไวรับต่อโรค
เชื้อโคโรนา ไวรัสทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน โดยทำให้เชื้อไวรัสหมดฤทธิ์ได้ด้วย อุณหภูมิ 56 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที ตัวอย่างที่ประกอบด้วยโปรตีนควรบำบัดด้วย อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที เพื่อทำให้เชื้อไวรัสหมดฤทธิ์อย่างสมบูรณ์
การจัดการที่ดีในอุดมคติ ได้แก่ การแยกสัตว์อย่างเข้มข้น ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสูง และการลงลูกไก่อายุเดียวกัน ภายหลังการทำความและฆ่าเชื้อโรงเรือนสัตว์ปีก รวมถึง อุปกรณ์ที่สัมผัสกับสัตว์ปีก หรือวัสดุรองพื้นใช้แล้ว และการหมัก หรือเคลื่อนย้ายมูลสัตว์จากโรงเรือนทั้งหมด เนื่องจาก โรคหลอดลมอักเสบติดต่อสามารถติดต่อได้ง่ายมาก การสร้างภูมิคุ้มกันจึงมีความจำเป็น
การให้วัคซีน ไก่ที่ฟื้นตัวจากการติดเชื้อ หรือได้รับ วัคซีน จะสามารถป้องกันโรคสายพันธุ์เดียวกันได้ แต่หากเป็นคนละสายพันธุ์กันก็จะไม่แน่นอน ไก่ที่ได้รับวัคซีนที่สายพันธุ์ตรงกับเชื้อก่อโรคก็จะมีการขับเชื้อที่ลดลง และเป็นเวลาที่สั้นลงกว่าไก่ที่ไม่ได้รับวัคซีน วัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบติดต่อมีทั้งชนิดเชื้อเป็น และเชื้อตาย วัคซีนเชื้อเป็นนิยมใช้ในไก่เนื้อ และสำหรับการให้วัคซีนเริ่มต้นในไก่พันธุ์ และไก่ไข่รุ่น เชื้อไวรัสจากวัคซีนสามารถกลับไปเป็นเชื้อรุนแรงได้เมื่อผ่านกลับลงในตัวไก่ บ่งชี้ว่า เชื้อสามารถเพิ่มความรุนแรงได้โดยการหมุนเวียนของเชื้อไวรัสจากวัคซีน การติดเชื้อหมุนเวียนซ้ำในฝูง เนื่องจาก กระบวนการให้วัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ไก่เพียงบางส่วนเท่านั้นที่ได้รับวัคซีน การให้วัคซีนเชื้อเป็นไม่ครบขนาดก็มีผลต่อการติดเชื้อหมุนเวียนซ้ำในฝูง และเพิ่มความรุนแรงของเชื้อไวรัสจากวัคซีนได้
ติดตามข่าวสารไก่ชนได้ทุกวัน ที่นี้ DOKAICHON.COM
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมตลอด 24 ชั่วโมง ได้ที่นี้ @dokaichon.com