โรคอหิวาต์ไก่ โรคระบาดของสัตว์ปีก เกือบทุกประเทศ อัตราการตายสูง

โรคอหิวาต์ไก่

โรคอหิวาต์ไก่ บางคนเรียกว่า โรคห่า เพราะว่าทำให้ไก่ตายเป็นจำนวนมากและรวดเร็ว เป็นโรคติดต่อร้ายแรงพบได้ในสัตว์ปีก แต่สัตว์อายุมากมีอัตราการป่วยและตายสูงกว่าสัตว์อายุน้อย ระบาดได้ทุกฤดูกาล แต่ในช่วงฤดูร้อนจะมีการระบาดรุนแรงมากที่สุด สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pasteurella multocida ในประเทศไทยพบซีโรไทป์ A:1, A:3, A:4

การติดต่อ โดยการกินอาหาร หรือน้ำที่มีเชื้อโรคเข้าไป การหายใจติดต่อไปยังไก่ที่อยู่ใกล้ชิดกัน เชื้อโรคติดต่อไปยังอุปกรณ์การเลี้ยง คน สุนัข แมว นก หนู แมลงวัน ฯ เป็นตัวนำโรค เชื้อปนเปื้อนในดิน

เป็ดไก่ที่เลี้ยงใกล้แหล่งน้ำ เมื่อมีซากเป็ดซากไก่ที่ป่วยตายด้วยโรคนี้และสิ่งขับถ่าย (อุจจาระ น้ามูก เสมหะ) สิ่งปูนอน ที่ตกลงในน้ำ ทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปตามกระแสน้ำได้ การชำแหละเป็ด ไก่ที่ป่วยและตายด้วยโรคนี้ เศษเนื้อ เลือด และน้ำล้าง ทำให้เชื้อโรคแพร่ระบาดได้ การเคลื่อนย้ายเป็ดไก่ที่เป็นโรคไปสถานที่อีกแห่งหนึ่ง เช่น ตลาดนัด ตลาดซื้อขาย ฯ

อาการของโรค การป้องกัน และการรักษา โรคอหิวาต์ไก่

เราจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ ชนิดร้ายแรง และ ชนิดเรื้อรัง อาการของโรค ชนิดร้ายแรงหรือเฉียบพลัน เป็ดไก่ป่วยและตายกระทันหันโดยไม่แสดงอาการให้เห็น หรืออาจพบไข้สูง มีน้ำมูก น้ำลายไหลเป็นเมือก หัวตก หน้าและหงอนสีม่วงคล้ำ หายใจลำบากและถี่ วัน เบื่ออาหาร กระหายน้ำจัด ท้องร่วง อุจจาระมีสีเหลือง ขนร่วง ตายภายใน 2 – 3 วัน ร่องรอยโรค พบจุดเลือดออกที่กล้ามเนื้อหัวใจ กระเพาะอาหารแท้ กระเพาะบด เยื่อบุช่องท้อง ลำไส้เล็กอักเสบมีเมือกและจุดเลือดออก ตับขยายใหญ่และมีจุดเนื้อตายสีเทาเล็กๆ กระจายทั่วไป ในไก่ไข่อาจพบไข่แตกในช่องท้อง

ชนิดเรื้อรัง เกิดจากพวกที่ป่วยแล้วไม่ตาย บางครั้งจะป่วยนานเป็นเดือนๆ มีอาการหงอยซึม พบลักษณะบวมที่เหนียง โพรงจมูก ข้อขา ข้อปีก ฝ่าเท้า และบริเวณก้น ตาแฉะ หายใจเสียงดัง หอบ ร่องรอยโรค พบเยื่อตาขาวอักเสบ เหนียงบวม ข้อต่อบวมและมีหนองอยู่ภายใน

การป้องกัน ทำความสะอาดภายในเล้าเป็นประจำ ภายในโรงเรือนต้องโปร่ง อากาศถ่ายเทดี เย็นสบาย ไม่อบอ้าว ไม่ควรเลี้ยงเป็ดไก่หนาแน่นจนเกินไป มีตาข่ายหรือวัสดุป้องกันตัวนำโรค เช่น นกกระจอก หนู สุนัข แมว ฯ กำจัดแมลงที่เป็นตัวนำโรค เช่น แมลงวัน แมลงสาบ แมลงหวี่ ฯ กรณีเลี้ยงสัตว์ใกล้แหล่งน้ำ ต้องระวังซากเป็ด-ไก่ที่ตายลอยน้ำมา และงดนำน้ำมาใช้

ถ้าจำเป็นต้องใช้ควรฆ่าเชื้อด้วยการต้ม น้ำยาฆ่าเชื้อ มีมาตรการป้องกันและควบคุมบุคคลภายนอกเข้าออกฟาร์ม กรณีมีเป็ดไก่ป่วยและตาย ควรรีบนำซากส่งตรวจ 3 – 5 ตัว ซากที่เหลือนำไปเผาทำลาย หรือฝังลึกๆ การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะ หรือ ยาซัลฟา โดยการฉีด หรือละลายน้ำให้กิน ติดต่อกัน 2 – 3 วัน ติดต่อสัตวแพทย์ในพื้นที่

 

ติดตามข่าวสารไก่ชนได้ทุกวัน ที่นี้ DOKAICHON.COM

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมตลอด 24 ชั่วโมง ได้ที่นี้ @dokaichon.com