โรคฝีดาษไก่ เป็นโรคติดต่อเชื้อที่แพร่กระจายค่อนข้างช้า มีลักษณะเฉพาะคือการเกิดเม็ดตุ่มขึ้นที่ผิวหนัง แล้วค่อยๆ หนาตัวขึ้นเป็นสะเก็ด หรือมีเยื่อหนายึดติดแน่นที่ส่วนตัวของทางเดินอาหารและระบบหายใจ หลายคนเลี้ยงไก่อาจเคยเจอปัญหา ที่หน้าของไก่บริเวณหงอน เหนียง มีลักษณะเป็นแผลแบบแห้ง ถ้าเป็นเช่นนั้นหมายความว่าไก่เป็น “ฝีดาษ”
ชนิดของโรคฝีดาษจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ ฝีดาษแบบเปียก และ ฝีดาษแบบแห้ง แต่ที่พบโดยทั่วไปในไก่ไข่ มักจะเป็นฝีดาษแบบแห้ง จะมีลักษณะตามที่กล่าวไว้ในข้างต้น และ ฝีดาษแบบเปียก บางครั้งถึงกับตาบอด ในปากก็มักจะพบวิการด้วยเช่นเดียวกับในกล่องเสียงและหลอดลม
สาเหตุของโรค อาจมาจากยุงเป็นพาหะนำโรค ถ้าไม่หาทางกำจัดยุงที่มาก่อกวนตัวไก่ อาจก่อให้เกิดโรคมาราเรียได้ ฝีดาษไก่ เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อได้ทางบาดแผล ที่เกิดจากการจิก ลวดหรือตะปู ขีดข่วน ส่วนใหญ่ได้รับเชื้อ 4-10 วันจะเกิดตุ่มคล้ายหูดขึ้นตามผิวหนัง ในบริเวณที่ไม่มีขน เช่น หน้า หงอน เหนียง หนังตา ตุ่มเล็กๆจะค่อยๆใหญ่ขึ้น ที่หัวของฝีดาษจะมีแผลสะเก็ดสีน้ำตาลคลุมอยู่ ต่อมาจะแห้งและลอกหลุด
วิธีป้องกันและรักษา โรคฝีดาษไก่ ที่เราสามารถทำได้
เมื่อไก่เป็นฝีดาษแบบแห้ง ก็สามารถหายาทาภายนอกมาใช้ได้ นั่นก็คือ เจนเชี่ยนไวโอเล็ต หรือ ยาม่วงตามที่เรารู้จักกัน หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ไม่ทำให้ไก่เครียด และจับแยกตัวที่เป็นแผลออกจากฝูง เพราะโรคนี้สามารถติดต่อกันได้ วิธีป้องกันและรักษา ที่เราสามารถทำได้ ก่อนจะเกิดปัญหา ฉีดวัคซีนป้องกันตอนช่วงไก่เล็ก ไก่ที่เลี้ยงแบบปล่อย แนะนำให้หามุ้งปิดที่นอนไก่เพื่อป้องกันยุง
การควบคุม ในท้องที่ที่มีโรคฝีดาษระบาดอยู่ทั่วไป ควรทำวัคซีนให้กับไก่ตั้งแต่แรกเกิดและอาจให้ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เมื่ออายุ 12 – 20 สัปดาห์
ติดตามข่าวสารไก่ชนได้ทุกวัน ที่นี้ DOKAICHON.COM
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมตลอด 24 ชั่วโมง ได้ที่นี้ @dokaichon.com