โรคหวัดหน้าบวม เป็นโรคระบบหายใจแบบเฉียบพลันของไก่ที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า เอวิแบคทีเรียม พารากัลลินารัม จีนัส เอวิแบคทีเรียม ยังประกอบด้วย เอวิแบคทีเรียม กัลลินารัม ที่ครั้งหนึ่งรู้จักกันในชื่อ พาสจูเรลลา กัลลินารัม และอีก 3 ชนิด ได้แก เอวี. เอเวียม เอวี. เอนโดคาร์ไดติดิส และ เอวี. วอแลนเทียม
อย่างไรก็ตามเป็นที่ยอมรับกันว่าเชื้อ เอวิแบคทีเรียม พารากัลลินารัม เป็นเชื้อก่อโรคที่สำคัญ ขณะที่ สมาชิกชนิดอื่นๆในจีนัสเดียวกันนี้เป็นเชื้อฉวยโอกาส (เชื้อ เอวี. เอนโดคาร์ไดติดิส และ เอวี. กัลลินารัม) หรือไม่ก่อโรคแต่อย่างใด (เชื้อ เอวี. เอเวียม และ เอวี. วอแลนเทียม)
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ความเสียหายทางเศรษฐกิจมากที่สุดจากโรคหวัดหน้าบวมเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตที่แย่ลงใน สัตว์ปีก ผลผลิตไข่ลดลง 10-40% ในไก่ไข่ รวมถึง ต้นทุนสำหรับการให้วัคซีนป้องกันโรค เช่น การระบาดในฟาร์มไก่ไข่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยไม่มีโรคอื่นๆแทรกซ้อน พบว่า อัตราการตายรวม 48% และผลผลิตไข่ลดลงจาก 75% เหลือเพียง 15.7% ภายในช่วงเวลา 3 สัปดาห์เท่านั้น
โรคหวัดหน้าบวมยังสามารถก่อโรคได้ในไก่เนื้อ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เกิดโรคหวัดหน้าบวม 2 ครั้ง หนึ่งในนั้นมีการแทรกซ้อนของเชื้อ มัยโคพลาสมา ซิโนวิอี ด้วย ส่งผลให้การปลดซาก เนื่องจาก ถุงลมอักเสบเป็น 8-15% ในรัฐอะลาบามา การระบาดของโรคหวัดหน้าบวมในไก่เนื้อ
โดยไม่มีโรคแทรกซ้อน ส่งผลให้อัตราการปลดซากเป็น 69.8% จากถุงลมอักเสบ เมื่อโรคหวัดหน้าบวมปรากฏในฝูงไก่ในประเทศกำลังพัฒนา มักร่วมกับเชื้อก่อโรคอื่นๆ และปัจจัยด้านความเครียดส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ
การจัดการ ป้องกันและรักษา โรคหวัดหน้าบวม
ไก่ที่ฟื้นตัวจากโรค เป็นพาหะนำโรค เป็นต้นตอที่สำคัญของโรคหวัดหน้าบวม ดังนั้น การจัดการ เช่น หลีกเลี่ยงการซื้อลูกไก่จากแหล่งที่ไม่ทราบประวัติสุขภาพ หากไม่ทราบประวัติสุขภาพว่าปลอดจากโรคหวัดหน้าบวมหรือไม่ การแยกเลี้ยง และจัดโรงเรือนให้ห่างจากฝูงไก่อายุมากเป็นข้อปฏิบัติที่ดี การกำจัดโรคจากฟาร์มจำเป็นต้องทำลายฝูงไก่ที่ติดเชื้อ หรือฟื้นจากโรค
เนื่องจาก ฝูงไก่ที่ติดเชื้อยังสามารถเป็นพาหะของโรคได้ต่อไป ภายหลังการทำความสะอาด และฆ่าเชื้ออุปกรณ์ และโรงเรือนแล้ว ควรปล่อยให้โรงเรือนว่างเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ก่อนการลงฝูงไก่ที่สะอาดใหม่เข้ามา
การให้วัคซีน วัคซีนชนิดแบคเทอรินสำหรับป้องกันโรคหวัดหน้าบวมมีจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ยังอาศัยการเพาะเชื้อ ต้องประกอบด้วยเชื้ออย่างน้อย 108 ซีเอฟยูต่อมิลลิลิตรจึงจะมีประสิทธิภาพเพียงพอ การให้วัคซีนนิยมฉีดให้ในช่วงอายุ 10-20 สัปดาห์ ระยะเวลาที่เหมาะสมควรให้ก่อนการได้รับเชื้อจากพื้นที่สัก 3-4 สัปดาห์ การฉีด 2 เข็มห่างกันสัก 4 สัปดาห์ก่อนที่ไก่จะอายุ 20 สัปดาห์ พบว่า ผลผลิตของไก่ไข่ดีกว่าการฉีด 1 เข็ม เมื่อฉีดให้ไก่ระยะเติบโต
วัคซีนชนิดแบคเทอริน สามารถฉีดได้ทั้งใต้ผิวหนัง และเข้ากล้าม การฉีดแบคเทอรินเข้าที่กล้ามเนื้อขาป้องกันโรคได้ดีกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้ออก เนื่องจาก โรคหวัดหน้าบวมเป็นปัญหาในไก่เนื้อในบางส่วนของโลก จึงมีความสนใจให้ไก่เนื้อที่อายุ 1 วัน แต่ป้องกันโรคได้ค่อนข้างน้อย
การรักษาโรค ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์ และยาปฏิชีวนะหลายชนิดสามารถใช้บรรเทาความรุนแรง และระยะเวลาการเกิดโรคหวัดหน้าบวมได้ การดื้อยาของเชื้อ เอวิแบคทีเรียม พารากัลลินารัม พบได้ มีรายงานการตรวจพบ พลาสมิดที่ดื้อยาหลายชนิดพร้อมกันในตัวอย่างเชื้อที่แยกได้จากไต้หวัน
ติดตามข่าวสารไก่ชนได้ทุกวัน ที่นี้ DOKAICHON.COM
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมตลอด 24 ชั่วโมง ได้ที่นี้ @dokaichon.com